เมนู

13. ปิฏฐิทุกวิสัชนา

,
[235] สัจจะ 2 เป็นนทัสสนปหาตัพพะ สัจจะ 2 เป็นทัสสน-
ปหาตัพพะก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพะก็มี สัจจะ 2 เป็นนภาวนาปหาตัพพะ
สัจจะ 2 เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นนภาวหาปหาตัพพะก็มี สัจจะ 2 เป็น
นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ สัจจะ 2 เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนทัสสน-
ปหาตัพพเหตุกะก็มี สัจจะ 2 เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ สัจจะ 2 เป็น
ภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี สมุทยสัจ เป็น
สวิตักกะ นิโรธสัจ เป็นอวิตักกะ สัจจะ 2 เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี
สมุทยสัจ เป็นสวิจาระ นิโรธสัจ เป็นอวิจาระ สัจจะ 2 เป็นสวิจาระก็มี
เป็นอวิจาระก็มี นิโรธสัจ เป็นอัปปีติกะ สัจจะ 3 เป็นสัปปีติกะก็มี เป็น
อัปปีติกะก็มี นิโรธสัจ เป็นนปีติสหคตะ สัจจะ 3 เป็นปีติสหคตะก็มี
เป็นนปีติสหคตะก็มี นิโรธสัจ เป็นนสุขสหคตะ สัจจะ 3 เป็นสุขสหคตะก็มี
เป็นนสุขสหคตะก็มี นิโรธสัจ เป็นนอุเปกขาสหคตะ สัจจะ 3 เป็นอุเปกขา-
สหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี สมุทยสัจ เป็นกามาวจร สัจจะ 2
เป็นนกามาวจร ทุกขสัจ เป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี สัจจะ 3
เป็นนรูปาวจร ทุกขสัจ เป็นรูปาวจรก็มี เป็นนรูปาวจรก็มี สัจจะ 3
เป็นนอรูปาวจร ทุกขสัจ เป็นอรูปาวจรก็มี เป็นนอรูปาวจรก็มี สัจจะ 2 เป็น
ปริยาปันนะ สัจจะ 2 เป็นอปริยาปันนะ มัคคสัจ เป็นนิยยานิกะ สัจจะ 3
เป็นอนิยยานิกะ มัคคสัจ เป็นนิยตะ นิโรธสัจ เป็นอนิยตะ สัจจะ 2 เป็น
นิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี สัจจะ 2 เป็นสอุตตระ สัจจะ 2 เป็นอนุตตระ

สมุทยสัจ เป็นสรณะ สัจจะ 2 เป็นอรณะ ทุกขสัจ เป็นสรณะก็มี เป็นอรณะ
ก็มี ฉะนี้แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ
สัจจวิภังค์ จบบริบูรณ์

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


พึงทราบวินิจฉัยในปัญหาปุจฉกะ ต่อไป
บัณฑิตพึงทราบความที่สัจจะแม้ทั้ง 4 เป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนอง
แห่งนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในขันธวิภังค์นั่นแล แต่ในอารัมมณติกะทั้งหลาย
สมุทยสัจจะ เป็นปริตตารัมมณะแก่ผู้ยินดีอยู่ในกามาวจรธรรม เป็นมหัคคตา-
รัมมณะแก่ผู้ยินดีอยู่ในมหัคคตธรรม เป็นนวัตตัพพารัมมณะแก่ผู้ยินดีอยู่ใน
บัญญัติธรรม. ทุกขสัจจะ เป็นปริตตารัมมณะซึ่งปรารภกามาวจรธรรมเกิดขึ้น
เป็นมหัคคตารัมมณะในกาลปรารภรูปาวจรธรรมและอรูปาวจรธรรมเกิดขึ้น
เป็นอัปปมาณารัมมณะเกิดในเวลาพิจารณาโลกุตรธรรม 9 เป็นนวัตตัพพารัม-
ณะในเวลาพิจารณาบัญญัติ. มรรคสัจจะ เป็นมัคคเหตุกะ (มีมรรคเป็นเหต)
แม้ในการทั้งปวง ด้วยสามารถเป็นสหชาตเหตุ เป็นมัคคาธิปติในเวลาเจริญ-
มรรคกระทำวริยะหรือวิมังสาให้เป็นใหญ่ ชื่อว่าเป็นนวัตตัพพธรรมในเวลาที่
ฉันทะและจิตอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอธิบดี. ทุกขสัจจะ เป็นบรรดารัมมณะใน
เวลาพิจารณามรรคของพระอริยะ เป็นมัคคาธิบดีในเวลาพิจารณามรรคของ
พระอริยเจ้าเหล่านั้นนั่นเทียว กระทำให้หนักเป็นนวัตตัพพธรรมในเวลาพิจาร-
ณาธรรมที่เหลือ.